วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปวีดีโอ
สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย (กรรณิการ์ เฉิน)      

                        นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ



วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความ
เรื่อง      สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน

  
       สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน หมายถึง  การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น เพราะมนุษย์ทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเผาผลาญเชื้อเพลิงและการใช้สารเคมี ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ถูกก๊าซเรือนกระจกกักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบให้สภาพอากาศในโลกเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่น เกิดภัยธรรมชาติ หรือโรคระบาด จึงส่งผลให้คนเสียชีวิต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการลดสภาวะโลกร้อน ทำให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่โลกร้อน และวิธีการลดภาวะโลกร้อนด้วยการนำของใช้หรือของเล่นมาใช้ซ้ำหรือดัดแปลงใหม่เป็นสิ่งใหม่ วิธีดังกล่าวสามารถปลูกฝังนิสัยที่ดีๆให้เด็กได้รู้จักรักของ ประหยัด อดทน และช่วยลดขยะหรือสิ่งเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในโลก ตลอดจนช่วยลดการใช้พลังงานหรือสารเคมีที่นำมาผลิตสิ่งของใหม่ ซึ่งมีผลกระทบที่ทำให้เกิดเรือนกระจกไปบังการสะท้อนกลับของรังสีจากดวงอาทิตย์ การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนเป็นหน้าที่ของทุกคนในโลกนี้ การจัดกิจกรรมลดสภาวะโลกร้อนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจที่บ้านและครอบครัวจะส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี





สรุปงานวิจัย
เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)
ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์
       พหุปัญญา หมายถึง  สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มีความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วนและการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผล และต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพหุปัญญา  ได้มีผู้ที่ศึกษาถึงสติปัญญาเอาไว้
 ทฤษฏีการพัฒนาสติปัญญา ดังนี้
ทฤษฏีพหุปัญญา
        การ์ดเนอร์ ได้คิดทฤษฏีพหุปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา เกิดจากศึกษาเรื่องสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายของบุคคล และมีความเชื่อว่าสติปัญญาแต่ล่ะด้านจะอยู่ที่ต่างๆของสมอง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีความสามารถทางสติปัญญาได้หลายด้าน คนเราไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนอย่างเดียวแต่สติปัญญายังมีอีกหลายด้านและแต่ละคนมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่สามารถพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้านได้มากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งการ์ดเนอร์ เชื่อว่าแม้ว่าคนแต่ละคนจะมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากันแต่ก็สามารถพัฒนาสติปัญญาทั้ง 8 ด้านได้ คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
 ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจผู้อื่น ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ 1 สมองใหญ่  2 สมองเล็ก 3 ก้านสมอง
สมองกับสติปัญญาและการเรียนรู้นั้นสมองของเด็กมีการปรับเปลี่ยนได้ทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่ การเรียนรู้ที่ได้จากสภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองได้อย่างมากในการพัฒนาสติปัญญาขึ้นอยู่กับสมอง  เด็กที่ได้รับการกระตุ้นจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้สมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและความสามารถในการเรียนรู้ของสมองเด็ก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยแต่ละปัจจัยแต่ละปัจจัยมีบทบาทที่สำคัญและจะเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการช่วยใหเด็กเรียนดีจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทุกด้านและทำการแก้ไขปัจจัยดังกล่าวให้ดีขึ้น เด็กที่มีทางเดินเส้นประสาทที่ใช้ในการคิดและเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างเชลล์สมองจำนวนมากจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเด็กทั่วไป ฉะนั้นการส่งเสริมการพัฒนาสมองให้เกิดความสมดุลจะส่งผลในการพัฒนาพหุปัญญาในเด็กปฐมวัย

       คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หลักการและเหตุผล
         การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่มีลักษณะที่สำคัญที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป้นทักษะขั้นสูงมาเป็นแนวในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาในระดับปฐมวัย ตามแนวของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จำนวน 8 ด้านคือ 1.ความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษา 2.ความสามารถทางสติปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ความสามารถทางสติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.ความสามารถทางสติปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  5.ความสามารถทางสติปัญญาด้านดนตรี 6.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น 7.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 8.ความสามารถทางสติปัญญาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการการเรียนรู้เชื่อมโยงกับความสนใจของเด็กและบูรณาการสาระการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นการทำงานกลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัย ตลอกจนลงมือปฏิบัติกิจกรรม จากการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน

        ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
ขั้นการตั้งสมมุติฐาน  ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์
ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต
แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม
เรื่อง     น้ำ
กิจกรรม
           มีจำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
               1. ไอศกรีม (พัฒนาพหุปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น)
               2. การกรอกน้ำ (พัฒนาพหุปัญญาด้านร่งกายและการเคลื่อนไหว)
               3. ดนตรีขวดน้ำ (พัฒนาพหุปัญญาดนตรีและความเข้าใจตนเอง)
แนวคิด
          น้ำเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ น้ำมีลักษณะเป็นของเหลวเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามรูปทรงของภาชนะ มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงจากของเหลวกลายเป็นของแข็งและของแข็งกลายเป็นของเหลวได้ และน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันอยู่ในภาชนะที่เป็นแก้วเมื่อเคาะจะมีระดับเสียงที่ต่างกัน
สาระการเรียนรู้
               1. การเปลี่ยนแปลงของน้ำ จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง
               2. การเปรียบเทียบน้ำที่เป็นของเหลวกับของแข็ง
               3. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของน้ำ
               4. การสังเกตลักษณะของน้ำกับภาชนะรูปทรงต่างๆ
               5. น้ำเทออกและบรรจุในภาชนะต่างๆได้
               6. น้ำในปริมาณที่แตกต่างมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน
จุดประสงค์ที่พึงพัฒนาพหุปัญญา ทั้ง 4 ด้าน
            1. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
          - ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการปฏิบัติกิจกรรมในการกรอกน้ำได้
          - ใช้ร่างกายแสดงท่าทาง อธิบายความรู้ในการกรอกน้ำได้
          - ทำกิจกรรมต่างๆอย่างประสานสัมพันธ์ ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับประสาทตาในการกรอกน้ำได้
     2. ด้านดนตรี
          - ร้องเพลงประกอบจังหวะได้
          - มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อทำนองเพลงและจังหวะได้
          - แสดงท่าทางประกอบจังหวะและสัญญาณได้
      3. ด้านความเข้าใจผู้อื่น
          - วางแผนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยการแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - แสดงความเอื้อเฟื้อและแบ่งปันสิ่งของต่อผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
     4. ด้านความเข้าใจตนเอง
          - ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและมีความสนใจต่อสิ่งที่ทำในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - กล้าแสดงออกอย่างมั่นใจในการนำเสนอผลงานในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - แสดงการทำงานโดยการปฏิบัติกิจกรรม อย่างมีการวางแผนในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
แนวการประเมินผล
1. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
          - สังเกตการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการปฏิบัติกิจกรรมในการกรอกน้ำได้
          - สังเกตการใช้ร่างกายแสดงท่าทาง อธิบายความรู้ในการกรอกน้ำได้
          - สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆอย่างประสานสัมพันธ์ ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับประสาทตาในการกรอกน้ำได้
     2. ด้านดนตรี
          - สังเกตการร้องเพลงประกอบจังหวะได้
          - สังเกตการมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อทำนองเพลงและจังหวะได้
          - สังเกตการ แสดงท่าทางประกอบจังหวะและสัญญาณได้
      3. ด้านความเข้าใจผู้อื่น
          - สังเกตการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยการแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
         - สังเกตการแสดงความเอื้อเฟื้อและแบ่งปันสิ่งของต่อผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
     4. ด้านความเข้าใจตนเอง
          - สังเกตการตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและมีความสนใจต่อสิ่งที่ทำในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - สังเกตการกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจในการนำเสนอผลงานในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้

          - สังเกตการแสดงการทำงานโดยการปฏิบัติกิจกรรม อย่างมีการวางแผนในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้





บันทึกการเรียนครั้งที่ 17
  วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายนพ..2559


เนื้อหาการเรียนการสอน
       ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มสาธิตการสอนในแต่ะวันโดย เริ่มจาก
กลุ่มที่ 1 วันจันทร์ ในวันนี้จะสอนเกี่ยวกับ สายพันธุ์ของไก่ โดยเพื่อนใช้คำคล้องจ้อง ไก่



กลุ่มที่ 2  อังคาร ลักษณะของนม เพื่อนได้ใช้ ปริศนาคำท้ายว่า วันนี้จะสอนอะไร มีการให้ ดมกลิ่น ชิม ว่าแตกต่างอย่างไร

กลุ่มที่ 3 วันพุธ ประโยชน์ของข้าว เพื่อนได้ให้ทำกิจกรรมการทำน้ำมัก



กลุ่มที่ 4 วัน พฤหัสบดี เพื่อนไดสอนข้อควรระวังในหน่วยกล้วย โดยใช้นิทาน




กลุ่มที่ 5 วันศุกร (กลุ่มตัวเอง) กลุ่มของเราได้ทำ คุกกิ้ง น้ำอัญชั้น โดยจะ แบ่ง เป็นทั้งหมด4 ฐาน คือ
ฐานที่1 ล้างดอกอัญชัน



ฐานที่ 2 คั้นน้ำจากดอกอัญชัน



ฐานที่ 3 ต้มน้ำดอกอัญชัน


ฐานที่ 4 ผสมน้ำอัญชัน


ภาพกิจกรรม




                

กลุ่มที่ 6 วันศุกร์ การแปรรูป หน่วยส้ม เพื่อน ได้เอาส้มเชื่อมกับส้มสดมาให้ชิมแล้วถามความชอบว่าเด็กๆชอบส้มแบบไหน และมีการประดิษฐ์ ขวดบ้าพลังใช้ในการยิงเม็ดส้มให้ไกลว่าเด็กคนไหนยิงได้ไกล ไกลเพราะอะไรให้เด็กได้ตอบ








การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
          เราสารถนำกิจกรรมที่เพื่อนได้สอนมาเขียนแผนการสอนแล้วให้เด็กได้ทำ ได้เทคนิคการสอนจากเพื่อนๆสามารถนำมาเป็นความรู้ใหม่ให้กับตัวเองได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง  วันนี้ตั้งใจช่วยเพื่อนทำกิจกรรมและตั้งใจในการสอนของกลุ่มตัวเองเป็นอย่างดี ได้เห็นถึงปัญหาภายในกลุ่มและช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน
ระเมินเพื่อน  วันนี้เพื่อนๆทุกคนน่ารักแสดงเป็นเด็กได้ดีและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ถึงเวลาสอนก็สอนได้อย่างน่ารัก

ประเมินอาจารย์  อาจารย์ได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้แต่กลุ่ม มีคำแนะนำที่ดีให้เราได้นำไปใช้ มีการสอดแทรกคุณะรรมเหมือนทุกๆครั้งที่เคยเรียน






บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
  วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายนพ..2559


เนื้อหาการเรียนการสอน
        วันนี้อาจารย์ให้พวกเรานั่งเป็นกลุ่มที่ สอนในแต่ล่ะหน่วย แล้วมีการถามคำ กันในเรื่องของการสอนอย่างไรในแต่ละวัน แล้ววัน ไหนสอนในหัวข้ออะไร ใครรับผิดชอบสอนในวันไหน เช่น วันจันทร์ สอนเรื่อง ประเภท ชนิด สายพันธุ์ แหล่งที่อยู่ เป็นต้น จากนั้นก็ให้ทุกกลุ่มเขียนแผนการสอน ทั้งสัปดาห์ โดยองค์ประกอบของการเขียนแผนการสอนจะประกอบด้วย  ดังนี้
1.วัตถุประสงค์
2สาระการเรียนรู้   สาระที่ควรเรียนรู้  และประสบการณ์สำคัญ
3.กิจกรรมการเรียนรู้ หรือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
4.สื่อ กับ แหล่งเรียนรู้
5.การประเมินผล
6.การบูรณาการ



       หลังจากที่ทุกกลุ่มช่วยกันคิดแผนในแต่ละวัน อาจารย์ก็ได้ให้ออกไปจับฉลาก เพื่อที่จะได้สอนในวันอะไร โดยกลุ่มของเราได้ วัน ศุกร์ เลือกที่จะทำคุกกิ้ง ก้มีการได้ ปรึกษากับอาจารย์ว่าจะทำเกี่ยวกับอะไร อาจารย์ได้ให้คำแนะนำมา คือ น้ำอัญชัน  พวกเราเลย ตกลงกันภายในกลุ่มว่าจะทำ น้ำอัญชัญมะนาว เพราะ เด็กๆจะได้เห็นถึงว่าใน พืชก็มีน้ำสะสมอยู่ และเมื่อเรา ใสน้ำมะนาวลงไปจะเกิดการเปลี่ยนสี ถือว่าได้ทำการทดลองไปด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
       เราสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนๆคิดในหน่วยต่างๆมาใช้ได้ในอนาคตเพราะเราต้องได้สอนในทุกๆหน่วย ได้รู้ถึงขั้นตอนการเขียนแผนที่ถูกต้อง
การประเมิน
ประเมินตนเอง วันนี้ตั้งใจในการเรียนแล้วให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกบกลุ่มเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน วันนี้เพื่อนๆทุกคน่ารัและตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีมาก
ประเมินอาจารย์   อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจอย่าละเอียด